ค้นหาบทความ :


สถานที่ท่องเที่ยว /เช่ารถกรุงเทพชิมขนมเปี๊ยะบัวหิมะ-ไหว้พระพุทธโสธรที่แปดริ้ว


share : Exclusive Exclusive Exclusive
0 ครั้ง
Created : 05-09-2024
cha cheng sao

เช่ารถกรุงเทพชิมขนมเปี๊ยะบัวหิมะ-ไหว้พระพุทธโสธรที่แปดริ้ว



      ข้าพเจ้ายอมรับกับท่านผู้อ่านโดยดุษณีว่าข้าพเจ้าคิดถึงรสชาติอันแสนนุ่มละมุนของขนมเปี๊ยะบัวหิมะ มันเป็นขนมที่หาทานยากชนิดหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าโปรดปราน กอปรกับเมื่อครั้งที่ข้าพเจ้ายังเป็นนิสิตอยู่นั้น ข้าพเจ้าเคยโดยสารรถไฟจากที่หยุดรถอโศก แล้วลง ณ สถานีชุมทางฉะเชิงเทราเพื่อไปซื้อขนมบัวหิมะที่ร้าน ตั้งเซ่งจั้ว โดยเฉพาะ

แต่การนั่งรถไฟเพื่อมุ่งหน้าไปยังฉะเชิงเทรานั้น เป็นไปด้วยความลำบาก เนื่องด้วยเที่ยวรถอันจำกัดทำให้ไม่ยืดหยุ่นเรื่องเวลา และปริมาณผู้โดยสารที่หนาแน่นจนแทบจะหายใจไม่ได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงคิดว่า จะเป็นการดีหรือไม่ ถ้าหากได้เช่ารถจากกรุงเทพมหานคร เพื่อไปเที่ยวแปดริ้วแล้วแวะซื้อขนมบัวหิมะแสนอร่อยอันหาทานยากนี้

 

 

สามารถจองเช่ารถกรุงเทพ  กับ ECOCAR rent-a-car ได้เลย

เช่ารถกรุงเทพ  ราคาเท่าไหร่ ? สามารถสอบถามเรื่อง รถเช่ารายวัน ของ ECOCAR rent-a-car ได้เลย โดยจะมีรถยนต์หลากหลายรูปแบบที่จะให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง, รถกระบะ, รถยนต์หรู รวมไปถึง รถ 7 ที่นั่ง SUV และ รถตู้ สามารถสอบถามได้ เพียงแอดไลน์ @ecocar ได้เลย พร้อมเอกสารเบื้องต้น อาทิ บัตรประชาชน, ใบขับขี่ และ บัตรเครดิต หากไม่มีส่วนนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ว่าจะเป็นเอกสารแบบไหนแทนได้

 

แนะนำเส้นทาง

      ข้าพเจ้าเริ่มต้นจุดหมายปลายทางที่ Ecocar สาขาดอนเมือง เลี้ยวรถไปทางซ้ายเพื่อออกจากร้านของเรา แล้วมุ่งหน้าไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นสะพานเพื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนพหลโยธินที่แยกอนุสรณ์สถาน วิ่งไปตามถนนพหลโยธินสักระยะหนึ่งแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนจันทรุเบกษา ขับไปตามถนนเส้นนี้จนบรรจบซอยพหลโยธิน 54/1 จากนั้นก็เลี้ยวซ้ายวิ่งไปตามซอยพหลโยธิน 54/1 เลี้ยวเลี้ยวขวาเข้าถนนสายไหม วิ่งตรงไปตามถนนสายไหมยาวๆจนกระทั่งไปบรรจบกับถนนหทัยราษฎร์ วิ่งตามถนนเส้นนี้ยาวๆจนกระทั่งถึงแยกหทัยราษฎร์ ซึ่งจะไปบรรจบถนน  สุวินทวงศ์ หรือทางหลวงหมายเลข 304 โดยท่านต้องเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุวินทวงศ์ วิ่งยาวๆจนกระทั่งถึงตัวเมืองแปดริ้ว แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนศรีโสธรตัดใหม่ วิ่งไปจนถึงวงเวียนพระยาศรีสุนทรโวหาร เข้าวงเวียนแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนเทพคุณากร จากนั้นจึงเลี้ยวซ้ายเข้าจุดหมายปลายทางคือ วัดโสธรวรารามราชวรวิหาร โดยข้าพเจ้าขอแวะไปกราบหลวงพ่อโสธรเสียก่อนเพื่อเป็นสิริมงคลและเพิ่ม “แต้มบุญ”ให้กับตนเอง

 

วัดโสธรวรารามราชวรวิหาร

 

 

ที่อยู่: 134 ถนนเทพคุณากร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

24000

เวลาเปิดทำการ: 07.00 – 16.30 นาฬิกา

โทรศัพท์: 03-851-1048

เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/watsothornwararam

 

 

      วัดโสธรวรารามวรวิหาร พระอารามหลวง --- มีประวัติความเป็นมาโดยอ้างอิงจากเว็บไซต์ของ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้

      วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวแปดริ้วและประชาชนทั่วทุกสารทิศมาแต่อดีตกาล ตั้งอยู่บนถนนห่างจากตลาดกลางเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้นแต่แรกมีชื่อว่า “วัดหงษ์” เพราะมี “เสาหงส์” อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์อยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสาและมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า “วัดเสาธง” ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อนจึงเรียกชื่อใหม่ว่า “วัดเสาธงทอน” ส่วนชื่อ “วัดโสธร” อันมีความหมายว่า “บริสุทธิ์” และ “ศักดิ์สิทธิ์” นั้น เรียกตามพระนามของ พระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธรซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้ ในภายหลังวัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร มีนามว่า "วัดโสธรวรารามวรวิหาร" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2501

 

- ลักษณะเด่น

* พระอุโบสถศิลปะแบบไทยประยุกต์และร่วมสมัย

* การแก้บนด้วยไข่ต้มหรือละครรำ

     

      พระพุทธโสธร มีประวัติความเป็นมาตามข้อมูลของกรมศิลปากร ดังนี้

      พระพุทธโสธร หรือที่โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า หลวงพ่อโสธร ตามประวัติความเป็นมากล่าวว่าประดิษฐานที่  วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2313  มีตำนานแสดงถึงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่าเดิมทีนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคเหนือ ต่อมาบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ระส่ำระสายจึงได้แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำลงมาพร้อมกับพี่น้อง 3 องค์ พระพุทธรูปองค์พี่มีขนาดใหญ่ล่องไปถึงแม่น้ำแม่กลอง ชาวประมงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “หลวงพ่อบ้านแหลม” พระพุทธรูปองค์เล็กล่องเข้าไปที่คลองบางพลี คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนพระพุทธรูปองค์กลางนั้นล่องไปทางแม่น้ำบางปะกง เมื่อมาถึงบริเวณหน้าวัดหงส์ ชาวบ้านจำนวนมากช่วยกันยกฉุดแต่ก็ไม่สามารถนำขึ้นจากน้ำได้ จนมีอาจารย์ผู้หนึ่งได้ทำพิธีบวงสรวงและใช้ด้ายสายสิญจน์คล้องพระหัตถ์อัญเชิญขึ้นจากน้ำเป็นอันสำเร็จ วัดหงส์นี้กาลภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโสธรและขนานนามพระพุทธรูปศักดิ์สิทธินี้ตามชื่อวัดคือ   “หลวงพ่อโสธร”

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม รศ. 125(พ.ศ. 2451) คราวเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี ทรงกล่าวถึงพระพุทธโสธรไว้ว่า

 

“...กลับมาแวะวัดโสธรซึ่งกรมหลวงดำรงคิดจะแปลว่า “ยโสธรจะให้เกี่ยวข้องแก่การที่ได้สร้างเมื่อ เสด็จกลับจากไปตีเมืองเขมรแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถหรือเมื่อใดราวนั้น แต่เปนที่น่าสงสัยด้วยเห็นใหม่นัก พระพุทธรูปว่าทำด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สำคัญว่าเปนหมอดีนั้นคือองค์ที่อยู่กลาง ดูรูปตักและเอวงามเปนทำนองเดียวกันกับพระพุทธเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายไปเปนด้วยฝีมือผู้ที่ไปปั้น ว่าลอยน้ำมาก็เปนความจริงเพราะเปนพระศิลาคงจะไม่ได้ทำในที่นี้ ความนิยมนับถือในความเจ็บไข้อยู่ข้างจะมาก มีคนไปมาเสมอไม่ขาดจนถึงมีร้านธูปเทียนประจำอยู่ได้ ทั้งสี่สะพานและที่ประตูกำแพงแก้วกว่า 20 คน ถามดูว่าขายได้อยู่ในวันละกึ่งตำลึง มีทอดติ้วพวกจีนเข้ารักษา เจ้าศรีไสยถวายกำปั้นเหล็กเจาะช่องไว้สำหรับเรี่ยไรใบหนึ่ง...”

 

   จากเนื้อความดังกล่าวแสดงหลักฐานว่าพระพุทธโสธรนี้เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหิน อภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระพุทธโสธรทำให้มีผู้คนเดินทางมาบูชาสักการะเป็นจำนวนมากมิได้ขาดมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5จวบจนมาถึงปัจจุบันก็ยังมีประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธามากราบขอพรให้สำเร็จสมความปรารถนาอยู่เป็นจำนวนมาก

   ในด้านพุทธศิลป์ พระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว หรือ 165 เซนติเมตร สูง 198 เซนติเมตร พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่ง พระเนตรเล็กและเหลือบลงต่ำ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นทรงสูง สัดส่วนพระอุระค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับพระเพลาที่ดูกว้าง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวจรดพระนาภี ปลายแยกเป็นสองชายคล้ายเขี้ยวตะขาบ ด้วยลักษณะสำคัญเช่น พระพักตร์ พระเศียร พระรัศมี รูปแบบชายสังฆาฎิ และเทคนิคการสร้างอ้างอิงจากการอนุรักษ์ครั้งสำคัญราวปี  พ.ศ. 2543 โดยกรมศิลปากร ซึ่งมีนายสุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมการบูรณะในขณะนั้น พบว่าพระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินทรายแยกเป็นชิ้นรวมจำนวน 11 ชิ้น นำมาประกอบเข้าด้วยกันและลงรักปิดทอง ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้น ศาสตราจารย์       ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาศิลปากร ได้กำหนดรูปแบบเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 สมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 20

   ทั้งนี้ ด้วยความสำคัญของประวัติความเป็นมา รูปแบบอายุสมัย ตลอดจนความเชื่อ ความศรัทธาของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และพุทธศาสนิกชนไทย ในฐานะพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 เล่มที่ 109 ตอนที่ 147 น 8

 

 

 

ตั้งเซ่งจั้ว สาขาสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา

 

 

      หลังจากที่ข้าพเจ้าไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ก็มาแวะซื้อขนมบัวหิมะที่ร้าน “ตั้งเซ่งจั้ว” ร้านขนมเปี๊ยะเก่าแก่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา การันตีความอร่อยโดย “เชลล์ชวนชิม” โดยร้านแห่งนี้นั้นมีหลายสาขาในจังหวัดฉะเชิงเทรา แต่สำหรับสาขาที่ข้าพเจ้าแนะนำให้มา ก็คือสาขาเยื้องสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา นั่นเอง

 

 

      ของขึ้นชื่อของร้านแห่งนี้นั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคือ “ขนมเปี๊ยะ” ที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนั้นตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

 

 

 

 อย่างไรก็ตาม ขนมเปี๊ยะอันเป็นจุดขายของร้านตั้งเซ่งจั้วนั้น มีผู้แนะนำกันมากโขแล้ว ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขอแนะนำขนมที่หาทานยากชนิดหนึ่งที่แม้แต่ในกรุงเทพมหานครก็หาร้านซื้อได้ลำบากทีเดียว นั่นคือ “ขนมบัวหิมะ” ขนมอันมีรสชาตินุ่มลิ้น หลากหลายไส้ด้วยกัน ทั้งไส้ถั่วเขียว ไส้ทุเรียน ไส้งาดำ ไส้รวม

หากท่านผู้อ่านนิยมชมชอบรสไหนไส้ใดก็เชิญซื้อรสนั้นมาทานกันได้เลย แต่สำหรับข้าพเจ้านั้น “ไส้งาดำ” คือที่สุดของความอร่อยแล้ว อนึ่งทางร้านยังมีเครื่องดื่มขายอีกด้วย โดยเครื่องดื่มที่ข้าพเจ้าขอแนะนำคือ “น้ำจับเลี้ยง” ซี่งพนักงานในร้านขอการันตีเลยว่า “อร่อย” กว่าน้ำจับเลี้ยงสูตรของเยาวราชเสียอีก

 

 

   ถ้าท่านพอมีเวลาเหลือบ้าง ข้าพเจ้าก็ขอแนะนำอีกสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ท่านได้ลองตริตรองดู เผื่อว่าท่านจะพิจารณาแวะไปสถานที่แห่งนี้

 

วัดปากน้ำโจ้โล้

 

 

ที่อยู่: ถนนวนะภูติ ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

เวลาเปิดทำการ: 08.00 – 18.00 น.

 

 

   วัดปากน้ำโจ้โล้ จากข้อมูลของเว็บไซต์ True ID ระบุว่าวัดแห่งนี้นั้น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงเป็นวัดเก่าแก่กว่า ๒๐๐ ปี สร้างตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏพ.ศ.ที่แน่ชัด

   คำว่าโจ้โล้ เกิดขึ้นมาจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงวางแผนรบกับทหารของพม่า โดยการโล้เรือมาตามลำน้ำ เพื่อให้พวกทหารพม่าชะล่าใจคิดว่าทรงมาตามลำพังพระองค์เดียว จากนั้นกองกำลังของพระองค์จึงเข้าลอบโจมตีจนได้รับชัยชนะ เลยเรียกกันว่า “เจ้าโล้” จนกระทั่งเกิดการเพี้ยนของภาษา กลายเป็น “โจ้โล้กอปรกับอารามแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ “วัดปากน้ำโจ้โล้” จนถึงปัจจุบัน

เอกลักษณ์ของวัดนี้คือโบสถ์สีทอง โดยเป็นอารามแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทาสีทองทั้งหลังทั้งนอกและในโบสถ์ สำหรับการมายังวัดแห่งนี้สิ่งที่ผู้คนมักจะทำกันก็คือ “การลอดใต้ฐานพระประธาน เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

      

 

#เช่ารถ #รถเช่า นึกถึงรถเช่า นึกถึงECOCAR

ไอดีไลน์ @ecocar

Call Center 020024606

0922848660

www.ecocar.co.th

www.thairentecocar.com

 

 


บทความที่น่าสนใจ

Car Sharing ต่างจากรถเช่าอย่างไร

[วิธีพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ด้วยตนเอง] ที่ถูกต้องและปลอดภัย





สาขาของเรา