ค้นหาบทความ :


สถานที่ท่องเที่ยว /เช่ารถไหว้พระของผู้ที่เกิดวันอังคาร ตอนที่9: วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง


share : Exclusive Exclusive Exclusive
1 ครั้ง
Created : 11-10-2024
wat khun in

เช่ารถไหว้พระของผู้ที่เกิดวันอังคาร ตอนที่9: วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง



   สวัสดีครับ พบกับบทความ “เช่ารถไหว้พระของผู้ที่เกิดวันอังคาร” โดยในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 แล้วที่ข้าพเจ้าเขียนเรื่องนี้ขึ้น หลังจากห่างหายจากการเขียนไปนาน อันที่จริงแล้วข้าพเจ้ามิได้ไปไหนหรอกครับ เพียงแต่ว่ากำลังหมกมุ่นอยู่กับงานเขียนเรื่องอื่นๆ

   ท่านผู้อ่านที่รัก ในครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเขียนเรื่องราวนี้ ท่านจำได้หรือไม่ว่าข้าพเจ้าได้พาท่านไปยังจังหวัดอ่างทอง เพื่อไปนมัสการพระนอน ณ วัดป่าโมกฯ แต่ความจริงแล้วจังหวัดอ่างทองยังมีวัดที่ประดิษฐานพระนอนอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าจะพาท่านไปในครั้งนี้ กับอารามที่มีชื่อว่า วัดขุนอินทประมูล

   และถ้าท่านต้องการเดินทางไปยัง “วัดขุนอินทประมูล” แต่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ได้โปรดมาเช่ารถกับเรา Ecocar ข้าพเจ้ารับรองว่าท่านจะได้พบกับความสะดวกสบายแน่นอนครับ

เช่ารถ

 

 

      สามารถจองเช่ารถกรุงเทพ กับ ECOCAR rent-a-car ได้เลย

เช่ารถกรุงเทพ ราคาเท่าไหร่ ? สามารถสอบถามเรื่อง รถเช่ารายวัน ของ ECOCAR rent-a-car ได้เลย โดยจะมีรถยนต์หลากหลายรูปแบบที่จะให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง, รถกระบะ, รถยนต์หรู รวมไปถึง รถ 7 ที่นั่ง SUV และ รถตู้ สามารถสอบถามได้ เพียงแอดไลน์ @ecocar ได้เลย พร้อมเอกสารเบื้องต้น อาทิ บัตรประชาชน, ใบขับขี่ และ บัตรเครดิต

หากไม่มีส่วนนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ว่าจะเป็นเอกสารแบบไหนแทนได้

 

แนะนำเส้นทาง

   ข้าพเจ้าเริ่มต้นทางที่ Ecocar สาขาดอนเมือง เลี้ยวซ้ายวิ่งไปตามถนนวิภาวดีรังสิต จนบรรจบถนนพหลโยธินที่แยกอนุสรณ์สถาน วิ่งไปตามถนนพหลโยธินต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงทางแยกต่างระดับบางปะอิน1 ให้เลี้ยวซ้ายเพื่อบรรจบทางหลวงหมายเลข 32 ขับไปตามถนนเส้นนี้สักพักใหญ่ จนกระทั่งถึงทางแยกต่างระดับอ่างทอง ท่านโปรดชิดซ้าย เข้าทางหลวงหมายเลข 334 วิ่งไปตามถนนเส้นนี้จนกระทั่งสุดสายที่แยกบ้านรอ จากนั้นให้ตรงไปเพื่อบรรจบทางหลวงหมายเลข 309 แล้ววิ่งตามทางหลวงเส้นนี้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาให้ท่านเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงชนบท อท.3003 ขับไปประมาณ 3 กิโลเมตร ท่านจะเจอกับวัดขุนอินทประมูล อันเป็นจุดหมายปลายทางอยู่ด้านซ้ายมือ หรือท่านเสิร์ช GPS ค้นหา “วัดขุนอินทประมูล” ก็สะดวกเช่นเดียวกัน

 

วัดขุนอินทประมูล

   วัดขุนอินทประมูล เป็นพระอารามราษฎร์ชั้นสามัญ ตั้งอยู่หมู่ 3 ตําบลบางพลับ อําเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เนื้อที่วิสุงคามสีมา 80 ไร่เศษ เดิมเป็นเพียงสํานักสงฆ์ที่ใช้เป็นที่วิปัสสนาธุระ สร้างเป็นเพิงพักเครื่องไม้ไผ่หลังคามุงแฝกแบบฝีมือชาวบ้าน

 

 

   ตามตํานานสิงหนได้กล่าวถึงประวัติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลนี้ไว้ว่าสมัยกรุงสุโขทัยรุ่งเรืองในยุคที่พระยาเลอไทสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้ารามคําแหงผู้เป็นพระราชบิดา ครั้งนั้นพระยาเลอไทเสด็จจากกรุงสุโขทัยโดยทางชลมารเพื่อมานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอน ในเขตกรุงละโว้ ในการเสด็จครั้งนั้นมาใช้เส้นทางลำน้ำยมเข้าสู่ลำน้ำปิงแล้วลงสู่ลำน้ำเจ้าพระยาแยกลำน้ำมหาศร เข้าสู่เขาสมอคอนอันเป็นที่พํานักของฤาษี ผู้เป็นอาจารย์ เมื่อนมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะแล้ว พักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน 5 เพลา จึงได้เสด็จข้ามท้องทุ่ง เนื่องด้วยเวลาที่เสด็จมานั้นเป็นเวลาน้ำเหนือบ่าจึงได้แวะประทับโดยสร้างพลับพลา ณ โคกบางพลับแห่งนี้ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดขุนอินทประมูล) ขณะประทับแรมอยู่ ณ โคกบางพลับ เวลายามสามจึงเกิดศุภนิมิตรทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้หายไปในอากาศทางทิศตะวันออก ด้วยคำทำนายของโหรหลวงที่ว่านิมิตรทำนายว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองแลความอุดมสมบูรณ์จะเกิดขึ้นทั่วสารทิศในแผ่นดินแห่งพระองค์ควรจะสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นที่ระลึกถึงศุภนิมิตรที่มีขึ้นในการมาประทับแรมครั้งนี้และเพื่อสืบทอดอายุในพระพุทธศาสนา

 

 

   เมื่อพระองค์ได้สดับดังนี้ก็เกิดปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงมีดําริสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น โดยมอบหมายให้นายบ้านเกณฑ์แรงงานทั่วแคว้นแดนลุ่มแม่น้ำน้อยทั้งหมดได้คนพันเศษ ขุดหลุมกว้าง 200 วา นำท่อนซุงนับร้อยท่อนลงวางขัดตาราง เป็นฐานแล้วขุดบ่อในทุ่งด้านหลัง ขนดินขึ้นถมสูง 3 วา (ปัจจุบันเป็นสระกว้างอยู่ทางด้านหลังของวัด)และให้ผู้คนอีกส่วนหนึ่งระดมทําอิฐเผา(มีโคก ที่เรียกว่า โคกเผาอิฐ และตําบลบ้านท่าอิฐอยู่ในเขตอําเภอโพธิ์ทองในปัจจุบัน)การสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ณ โคกบางพลับแห่งนี้กินเวลานาน ๕ เดือนจึงแล้วเสร็จ เมื่อเดือน 5 ปี พ.ศ. 1870 สําเร็จเป็นองค์พระพุทธไสยาสน์ยาว 20 วา สูง 5 วา เมื่อสร้างพระพุทธไสยาสน์เสร็จแล้วขนานพระนามว่า “พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร” มอบให้นายบ้านผู้ดูแลแต่งตั้งทาสไว้ 5 คน แล้วเสด็จนิวัติสู่กรุงสุโขทัย

 

 

   พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตรถูกทอดทิ้งตากแดดตากฝนท่ามกลางป่ารกอยู่นาน การดูแลรักษาก็ไม่ได้กระทําต่อเนื่อง ในที่สุดก็ถูกทิ้งร้างจนกระทั่งกรุงสุโขทัยเสื่อมอํานาจลงและกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีอํานาจขึ้นมาแทนที่ ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ มีพระภิกษุทรงวิทยา ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่กระทําวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีชาวบ้านมาช่วยกันสร้างเพิงพักให้เป็นที่จําวัดต่อเนื่องกันมาเนิ่นนานจนถึงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในครั้งนั้นมีนายอากรตําแหน่งที่ขุนอินทประมูล นายบ้านบางพลับ แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ กล่าวกันว่าขุนอินทประมูลนั้นเป็นคนจีนมีชื่อเดิมว่า เส็ง มีภรรยาเป็นคนไทยชื่อนาก ไม่มีบุตรสืบตระกูล เป็นผู้ที่มีจิตศรัทธาฝักใฝ่ในการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ปรารภว่าจะพยายามซ่อมสร้าง พระพุทธไสยาสน์และสร้างวัด ให้สําเร็จด้วยอุตสาหะแห่งตนให้จงได้ โดยเริ่มแรก ได้นําทรัพย์สินส่วนตัวที่เก็บออมไว้ประมาณ 100 ชั่ง ออกมาสร้างวิหารและเจดีย์ขึ้น ณ โคกใหญ่ด้านตะวันออกสําเร็จลงเรียบร้อย ต่อมาเห็นว่าพระพุทธไสยาสน์ทรุดโทรมลงทุกวัน องค์พระแทบพังทั้งหมดทลายลงกองกับพื้นดิน จึงดําริถากถางป่าและซ่อมองค์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นใหม่รวมทั้งจัดสร้างหลังคาคลุมองค์พระพุทธไสยาสน์ขึ้น โดยจัดทําเป็นเสาอิฐก่อเครื่องบน เป็นเครื่องไม้หลังคามุงด้วยหญ้าแฝกเป็นเครื่องกันแดดฝน ขยายองค์พระออกไปเป็นความยาว 25 วา สูง 5 วา 2 ศอก การซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ครั้งนั้นนับเป็นมูลค่าเงินหลายร้อยชั่ง ขุนอินทประมูลนําทรัพย์ส่วนตัวออกมาสร้างต่อจนสําเร็จ แล้วพยายามปกปิดไว้ไม่ยอมให้ข่าวแพร่งพรายไปถึงพระนครศรีอยุธยา แต่ข่าวก็เล่าลือไปถึงพระยาวิเศษไชยชาญ เจ้าแขวงเมืองวิเศษไชยชาญมีความเชื่อว่า   ขุนอินทประมูลได้นำเงินอากรของหลวงมาสร้างพระจึงนําเรื่องขึ้นกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมขึ้นมาไต่สวน แต่ขุนอินทประมูลปฏิเสธข้อกล่าวหา พระยากลาโหมจึงสั่งให้ราชทัณฑ์เฆี่ยน 3 ยกเพื่อให้ยอมรับ แต่   ขุนอินทประมูลยืนยันว่า ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ตนเก็บสะสมไว้ตั้งแต่ครั้งเริ่มรับราชการ ท้ายที่สุดขุนอินทประมูลยอมตายไม่ยอมให้พระศาสนาต้องมามัวหมองเพราะคำกล่าวหา ในที่สุดขุนอินทประมูลทนรับการลงทัณฑ์ไม่ไหวจึงได้เสียชีวิตลงเมื่อวันอังคาร เดือน 5 พ.ศ. 2296 ประมาณอายุ ได้ 80 ปีเศษ พระยากลาโหมกลับไปทูลความให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทราบความตามกราบทูล เสด็จขึ้นมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นว่าขุนอินทประมูลมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯให้ฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้ในเขตพระวิหารด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ หลังจากทําพิธียกเกศทองคําหนัก 100 ชั่ง พระราชทานประดับพระเกศมาลาพระพุทธไสยาสน์ และพระราชทานนามวัดว่า “วัดขุนอินทประมูล” และ ถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า “พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล”

 

   

   อย่างไรก็ตามมีประวัติบอกเล่าตามคําบันทึกให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พม่าบุกเข้าปล้นเอาพระเกศทองคํา เผาพระวิหาร และองค์พระพุทธไสยาสน์เสียหายทั้งหมด เมื่อเสียกรุงแก่พม่าครั้ง ที่ 2 พ.ศ. 2310

 

 

พระพุทธรูปประจำวันอังคาร:พระพุทธไสยาสน์

   พระพุทธไสยาสน์ของวัดขุนอินทประมูลแห่งนี้ มีพระพักตร์สวยงามมากและดูยิ้มละไมตลอดเวลา ทั้งยังดูสงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธา องค์พระนอนหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งไม่มีร่มหรือวิหารครอบ เนื่องจากตัววิหารเดิมนั้นถูกเผาทิ้งไปเมื่อคราวสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี  

 

 

 

#เช่ารถ #รถเช่า นึกถึงรถเช่า นึกถึงECOCAR 

ไอดีไลน์ @ecocar

Call Center 020024606

0922848660

www.ecocar.co.th

www.thairentecocar.com

www.thairentecocar.co.th

 

แหล่งอ้างอิง

https://mgronline.com/daily/detail/9640000097474

https://www.finearts.go.th/storage/contents/2022/06/file/oOa4lQRajrmzNGA6Mp0APNxZw5Zo7pztMof5oi4R.pdf

https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/relattraction/content/244/

 

 

 


บทความที่น่าสนใจ

[Car sharing คืออะไร] จะมาแทนที่รถเช่าแบบดั้งเดิมหรือไม่?

มองหาเช่ารถสนามบินดอนเมือง ไปลอยกระทงกัน





สาขาของเรา